กรมการข้าวให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกข้าว การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับนักวิซาการและเกษตรกรในพื้นที่นำร่อง เพื่อนำไปสู่การนำระบบ MRV สู่การปฏิบัติใช้ และสร้างการมีส่วนร่วมในระดับชุมชมอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 7 ธันวาคม 2565 นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานเปิดการประชุมปิดโครงการความร่วมมือไทย - เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (TGCP – Agriculture Closing Workshop) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กรมการข้าว สถาบันวิจัยระหว่างประเทศ และองค์กรความร่วมมือของเยอรมัน (GIZ) ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
นายกฤต อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า "นายกรัฐมนตรีประกาศในเวที COP 26 เมื่อปี พ.ศ. 2564 ว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกำลังเตรียมพร้อมก้าวสู่ประเทศความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2608 ผ่านการขับเคลื่อนในรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับภาคข้าวการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาคเกษตรในระดับปฏิบัติการ เพิ่มผลผลิตและคุณภาพตลอดห่วงโซ่การผลิต และลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้"
"กรมการข้าวให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกข้าว การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับนักวิซาการและเกษตรกรในพื้นที่นำร่อง เพื่อนำไปสู่การนำระบบ MRV สู่การปฏิบัติใช้ และสร้างการมีส่วนร่วมในระดับชุมชมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตข้าวคุณภาพสูงสินค้าเกษตรสำหรับข้าวยั่งยืน (TAS) อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการพัฒนาภาคข้าวไทยอย่างยั่งยืน" อธิบดีกรมการข้าวกล่าวเพิ่มเติม
ด้านนายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย กล่าวว่า "ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาคข้าว การผลิตข้าวยั่งยืนจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เรามีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี และเราพร้อมเดินหน้าสนับสนุนพันธมิตรภาคเกษตรของไทยต่อไป ผลการดำเนินงานผ่านโครงการความร่วมมือไทย - เยอรมัน ภาคเกษตรกรรม จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกรที่เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ภาคเกษตรในระดับนักวิจัยและปฏิบัติการ ในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ มาปรับใช้กับวิถีเกษตรในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกได้อย่างแน่นอน"
สำหรับ โครงการความร่วมมือไทยเยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม มุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคกรมการข้าว สำนักงานมาตรฐานส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ประกอบด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อาหารแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญให้กับนักวิจัยด้านข้าวในการนำทั้งในภาคทฤษฎีเทคโนโลยีมาใช้ และเรียนรู้วิธีการการตรวจวัด และการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรและภาคปฏิบัติผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เป็นการวางพื้นฐานบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยระบบ MRV สำหรับการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบบิ๊กดาต้า และติดตามความก้าวหน้าของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมในระยะยาว และนำมาสู่การพัฒนาคู่มือการจัดทำระบบ MRV ในภาคข้าว เพื่อเป็นแนวทางส่งต่อการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรในภาคเกษตรรุ่นใหม่