ชนิด - ข้าวเจ้าหอมมะลิ ไวต่อช่วงแสง (ข้าวนาปี)
ประวัติพันธุ์
ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 15 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในปี พ.ศ. 2508 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ KDML 105'65G1U-45
การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521
ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าหอมมะลิ สูงประมาณ 140 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10 พฤศจิกายน
- ลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง รวงอยู่เหนือใบ ใบยาว ค่อนข้างแคบ
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ปลายบิดงอเล็กน้อย
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 14-17 %
- คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม
ผลผลิต
ประมาณ 560 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
- ทนแล้งได้ดีพอสมควร
- อายุเบา เก็บเกี่ยวได้เร็ว
- คุณภาพการหุงต้ม นุ่ม มีกลิ่นหอม
- คุณภาพการสีดี เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง เรียวยาว
- นวดง่าย
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้
- ไม่ต้านทานแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและหนอนกอ
- ล้มง่าย ฟางอ่อน เมล็ดร่วงง่าย
- ไม่เหมาะกับนาลุ่ม ซึ่งระบายน้ำไม่ได้ เพราะข้าวจะสุกในระยะที่น้ำยังขังอยู่ในนา ทำให้เก็บเกี่ยวลำบาก
พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ